วิธีดูแลผู้สูงวัยให้อิ่มสุข

วิธีดูแลผู้สูงวัยให้อิ่มสุข

ผู้สูงวัย คือผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นช่วงชีวิตสุดท้ายที่ต้องให้การดูแลเป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อสภาพร่างกาย จิตใจที่ถดถอย และโรคภัยที่พร้อมมาเยือน การดูแลผู้สูงวัยจึงเป็นเรื่องที่ลูกหลานจำเป็นต้องใส่ใจ เรียนรู้ ด้วยความเข้าใจและจัดการให้สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของคนในวัยนี้ เรามี 5 วิธีดูแลมาฝากกัน

5 วิธีดูแลผู้สูงอายุ

อาหาร ในช่วงวัยนี้มีการใช้พลังงานน้อยลง ต้องการพลังงานประมาณ 1,400-1,800 กิโลแคลอรีต่อวัน ควรรับประทานอาหารที่เน้นการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ มวลกระดูก บำรุงสมอง และระบบประสาท มีส่วนลดการสะสมของไขมันส่วนเกิน กากใยสูง ย่อยง่ายดีต่อระบบขับถ่าย ป้องกันอัลไซเมอร์ รับประทานให้ครบ 5 หมู่ เน้นอาหารที่มีโปรตีน (ไขมันต่ำ) แคลเซียม วิตามินดี เค และแมกนีเซียม ตัวอย่างอาหาร เช่น กลุ่มผักสีเขียวเข้ม, ปลาเล็กปลาน้อย, นม, ธัญพืชต่าง ๆ อาหารที่อุดมด้วยกรดโอเมก้า 3 ที่มีสารสื่อประสาทโคลิน เลซิติน และวิตามินบีต่าง ๆ ได้แก่ บี1 บี6 และบี 12 ซึ่งพบใน ปลาทะเลน้ำลึก ไข่แดง กล้วย ถั่ววอลนัท ผักโขม ดอกกะหล่ำ ใบแปะก๊วย ถั่วเหลือง และข้าวกล้อง เป็นต้น

ออกกำลังกาย กระตุ้นการไหลเวียนของระบบน้ำเหลือง และโลหิต ขับเหงื่อระบายของเสีย ด้วยการแอโรบิกเบา ๆ ลดแรงกระแทก ทำเป็นประจำต่อเนื่อง เช่น เดินเร็ววันละ 30 นาที, แกว่งแขน, ว่ายน้ำ เป็นต้น พาไปออกกำลังกายในสวนสาธารณะ หรือในสถานที่ที่โอโซนสูง เพื่อรับอากาศบริสุทธิ์เป็นระยะ ๆ

การนอนหลับ จัดการให้ท่านนอนหลับสนิทในตอนกลางคืนไม่ต่ำกว่า 8 ชั่วโมง และหาโอกาสงีบหลับช่วงกลางวัน 15-30 นาที หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน งดการเสพสื่อที่กระตุ้นสมองก่อนเข้านอน และไม่ควรเข้านอนเกิน 21.00 น.

อารมณ์ เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่เสี่ยงกับความรู้สึกเหงา ว้าเหว่ และด้อยค่าในตัวเองเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า ควรปรุงอารมณ์ดีมีความสุขด้วยกิจกรรมที่ชอบ อากาศที่ดี สิ่งแวดล้อมเชิงบวก เช่น เข้าถึงดนตรีสร้างความสงบ, ชมภาพยนตร์, อ่านหนังสือเล่มโปรด, ทำงานฝีมือ, พาไปเที่ยวสถานที่โปรด ฯลฯ หลีกเลี่ยงการเสพสื่อ และคบหากับคนที่มีทัศนคติลบ, เลี่ยงสภาวะกระตุ้นความเครียด เช่น ที่แออัด อากาศร้อน อบอ้าว เสียงดัง ผู้คนพลุกพล่าน

อาทรห่วงใยให้ความสำคัญ ให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เช่น การแต่งบ้าน, ซื้อของใช้ในบ้าน ฯลฯ มอบหมายภารกิจ เช่น เล่านิทาน, ดูแลต้นไม้,คิดเมนูอาหาร ฯลฯ พาไปร่วมกิจกรรมสังคม และการพาไปพบญาติ หรือเพื่อนสนิทเป็นระยะ การได้พูดคุยแลกเปลี่ยน เล่าความหลังที่มีความสุขร่วมกันช่วยกระตุ้นการหลั่งของสารสุขได้เป็นอย่างดี

หากพิจารณาความต้องการของผู้สูงวัย และการปฏิบัติดูแลก็ไม่ต่างจากช่วงวัยที่ท่านดูแลลูกหลานในวัยเยาว์ ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ต้องการสร้างเสริมร่างกายให้แข็งแรง ปกป้องให้ห่างไกลโรคภัย ต้องให้เวลาทะนุถนอมดูแลสร้างความอบอุ่นทางใจ นี่จึงเป็นช่วงเวลาแสดงความกตัญญูที่ลูกหลานไม่ควรละเลย

เรื่องน่ารู้ก่อนลองปลูกกัญชา

เรื่องน่ารู้ก่อนลองปลูกกัญชา

พืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในขณะนี้คงหนีไม่พ้นกัญชาอย่างแน่นอน กัญชาในประเทศไทยมีใช้มาตั้งแต่อดีต โดยใช้เป็นยาแผนโบราณมีสรรพคุณที่ดี โดยเฉพาะใช้เพื่อคลายกล้ามเนื้อให้กับผู้ใช้แรงงาน แต่เพราะคุณสมบัติที่ทำให้เสพติดได้ พืชชนิดนี้จึงถูกห้ามและควบคุมมาตั้งแต่ ปี 2473 ก่อนที่ในปี 2562 กัญชาจะเริ่มได้รับอนุญาตให้กลับมาใช้กับทางการแพทย์ภายใต้การควบคุมตามกฎหมายอีกครั้ง

เหตุผลที่กัญชาได้รับความสนใจ

  1. กัญชาใช้รักษาโรคได้ มีการรับรองแล้วว่าน้ำมันกัญชา ยาเม็ด หรือยาหยอดจากกัญชาจะช่วยบรรเทาอาการปวดของโรคต่าง ๆ ได้ รวมถึงปัญหาที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูก
  2. โรงพยาบาลเริ่มมีการนำกัญชามาใช้บำบัดโรค โรงพยาบาลพันธมิตรโรคมะเร็ง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี แผนกกัญชาทางการแพทย์มีการนำกัญชามาใช้รักษาโรคมะเร็งโดยเฉพาะ เพื่อลดผลข้างเคียงจากการทำเคมีบำบัด และการฉายรังสี
  3. กัญชาได้รับอนุญาตให้สามารถปลูกและจำหน่ายได้ ปัจจุบันนี้บริษัทและบุคคลทั่วไปสามารถขออนุญาตเพื่อขอรับต้นพันธุ์ ปลูก ผลิต และขายกัญชาได้ โดยนิยมนำชิ้นส่วนของพืชชนิดนี้ไปผลิตยา เครื่องสำอาง และอาหาร แต่จำเป็นต้องมีการควบคุมดูแลให้เป็นไปตามข้อแนะนำ
  4. การนำกัญชามาปรุงเป็นอาหาร จากสรรพคุณของกัญชาที่ช่วยบรรเทาความเครียด และช่วยให้อารมณ์ดี ร้านอาหารหลายแห่งจึงนำกัญชามาปรุงเป็นอาหารที่หลากหลาย และค่อนข้างได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
  5. ศูนย์สุขภาพมีการนำกัญชามาใช้ในการบำบัด อย่างธุรกิจสปา และออนเซ็น ได้นำกัญชามาใช้ และยังมีแผนที่จะนำกัญชามาใช้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอีกด้วย

วิธีการปลูกกัญชา

  1. การเพาะเมล็ด (Germination) ใช้เวลาประมาณ 3 – 7 วัน เมล็ดที่ควรอวบแน่นสมบูรณ์ ผิวแข็งเรียบ สีเมล็ดออกน้ำตาลแก่ ขั้วแห้ง ไม่มีรอยปริแตก อาจใช้กรรไกรตัดเปลือกออกเล็กน้อย เพื่อเร่งให้รากงอกไวขึ้น และนำไปแช่น้ำ น้ำควรมีค่า pH 6.3 – 6.8 นานประมาณ 2 ชั่วโมง จากนั้นนำไปเก็บในที่มืดและอุ่นอีก 12 ชั่วโมง เมื่อครบเวลานำกระดาษชำระมาวางใส่กล่อง ฉีดน้ำไปให้ชุ่มแล้ววางเมล็ดลงไป เอากระดาษที่เปียกน้ำมาปิดข้างบนอีกชั้นหนึ่ง รอประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ รากก็จะงอกออกมา
  2. เตรียมวัสดุปลูก ส่วนมากนิยมใช้พีทมอสส์เป็นซากพืชซากสัตว์ที่ทับถมกันเป็นเวลานาน หรือโคโค่พีท หรือผสมกัน เติมเพอร์ไลต์หรือหินภูเขาไฟที่มีน้ำหนักเบาและรูพรุนสูงลงไปเล็กน้อย จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม ใช้ไม้จิ้มให้เป็นรู แล้วเอาเมล็ดที่มีรากแล้วลงไปฝังและรดน้ำให้ชุ่มอีกครั้ง ควรหาผ้าใบมากั้นแสงให้ร่ำไร ปุ๋ยที่นิยมใช้ปลูกกัญชาในช่วงที่กำลังทำใบคือ ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนเพราะมีลักษณะร่วนละเอียด ระบายน้ำและอากาศได้ดี ช่วงทำใบต้องระวังศัตรูอย่างเพลี้ยกระโดด ที่กำจัดได้ด้วยน้ำส้มควันไม้ และระวังแมลงหวี่ขาวซึ่งมักอยู่ใต้ใบ เวลาฉีดยาจึงต้องเน้นใต้ใบด้วย
  3. ระยะทำดอก คือระยะของต้นที่อายุ 8 – 12 สัปดาห์ เป็นช่วงที่ต้องดูแลเอาใจใส่ ระวังศัตรูพืชอย่างไรแดง หากเจอต้องตัดทิ้งทันที เพราะอาจจะแพร่ระบาดได้ ต้องให้ปุ๋ยที่มีโพแทสเซียม ฟอสฟอรัสสูง ควรพ่นฮอร์โมนไข่ที่เติมสาหร่ายแดง สาหร่ายสกัดทะเลลงไป แต่ต้องระวังอย่าฉีดโดนดอก เพราะจะทำให้เกิดความชื้น ทำให้เกิดราเทาได้
  4. การเก็บเกี่ยว และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว ให้พิจารณาที่เกสรดอก เกสรต้องแห้งเป็นสีน้ำตาล หรือสีเหลือง ก็พร้อมจะเก็บเกี่ยวได้ ควรตัดใบที่มีขนาดใหญ่ออก เพราะจะทำแห้งได้ช้า จากนั้นนำดอกมาตากไว้ให้แห้ง ควรทำที่อุณหภูมิ 20 องศา ห้องมืด มีอากาศถ่ายเท จนกว่าจะแห้งสนิท

ขมิ้นชัน กินตามเข็มนาฬิกา ช่วยรักษาสมดุลร่างกาย

ขมิ้นชัน กินตามเข็มนาฬิกา ช่วยรักษาสมดุลร่างกาย

ขมิ้นชัน พืชสมุนไพรพื้นบ้าน ที่ประโยชน์มากมายมหาศาล มีสีเหลืองเข้มและกลิ่นหอมอ่อน ๆ นอกจากประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการแล้ว ขมิ้นชันยังเป็นที่รู้จักในวงการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ด้วยสรรพคุณที่โดดเด่นในการรักษาโรคต่าง ๆ ซึ่งมีข้อปลีกย่อยในการกินทั้งในเรื่องของเวลาและปริมาณ โดยมีคำแนะนำให้กินขมิ้นชันตามเข็มนาฬิกา เพื่อช่วยรักษาสมดุลให้กับร่างกาย แต่จะกินอย่างไรเมื่อไรถึงจะมีประสิทธิภาพ วันนี้เรามีข้อมูลดี ๆ มาแนะนำ

ขมิ้นชัน อุดมไปด้วยวิตามิน เอ และ ซี ที่สำคัญคือสารคูเคอร์มิน (Curcumin) ที่ช่วยลดการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันในร่างกาย เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ลดการสะสมไขมันที่ตับ และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง นอกจากนี้ ขมิ้นชันยังมีสรรพคุณในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รักษาอาการกรดไหลย้อน รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้ และระบบย่อยอาหาร บรรเทาอาการท้องเสีย แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ อย่างได้ผลดี

ส่วนทฤษฎีนาฬิกาชีวิตที่ตำราแพทย์แผนจีนพูดถึงนั้น มีหลักการที่สัมพันธ์กับการทำงานของอวันวะภายในร่างกายของมนุษย์ โดยเชื่อว่าตลอด 24 ชม.จะมีการไหลเวียนของพลังงานชีวิตไปตามอวัยวะต่าง ๆ สลับกันไปทุก ๆ 2 ชั่วโมง ได้แก่ หัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต กระเพาะอาหาร ถุงน้ำดี ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก และกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น

ช่วงเวลา ตี 1 ถึง ตี 3 ลมปราณจะโคจรไปที่ตับ ช่วงเวลา ตี 3 ถึง ตี 5 เป็นช่วงเวลาที่ลมปราณโคจรไปที่ปอดจากนั้นอีก 2 ชั่วโมงก็จะไปที่ลำไส้ใหญ่ และโคจรไปตามอวัยวะอื่น ๆ อย่างต่อเนื่องเช่น กระเพาะอาหาร, ม้าม, หัวใจ, ลำไส้เล็ก, กระเพาะปัสสาวะ,ไต, เยื้อหุ้มหัวใจ, ซานเจียว (ไฟธาตุทั้งสาม),และถุงน้ำดีตามลำดับ, หากต้องการใช้ขมิ้นชันเพื่อการรักษาและฟื้นฟูระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ควรนำทฤษฏีนาฬิกาชีวิตมาปรับใช้ในการกินขมิ้นชันดังนี้

หากกินขมิ้นในระหว่างเวลา ตี 3 ไปจนถึงตี 5 จะช่วยบำรุงปอด แก้โรคภูมิแพ้ และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเวลา, ตี 5 ถึง 7 โมงเช้า ลมปราณโคจรไปที่ลำไส้ใหญ่ ขมิ้นชันจะช่วยให้ปลายประสาทของลำไส้ใหญ่ได้รับการฟื้นฟู ช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้น, เวลา 7 โมง ไปจนถึง 9โมงเช้า ขมิ้นชันจะช่วยลดอาการท้องอืด แน่นท้อง และช่วยรักษาาอาการอักแสบจากแผลในกระเพาะอาหารได้ เวลา 9 โมงเช้า ถึง 11 โมง ลมปราณโคจรไปที่ม้าม ขมิ้นชันจะเข้าไปช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน บำรุงม้ามให้แข็งแรง, หากกินขมิ้นชันเวลา 11โมง ถึงเวลาบ่ายโมง ลมปราณโคจรไปที่หัวใจ และอวัยวะใกล้เคียงเช่น ตับ และปอดก็จะได้รับการฟื้นฟูด้วย, การกินขมิ้นชันเวลาบ่ายโมงถึงบ่ายสามโมง ช่วยลดการเกิดแก๊สในลำไส้เล็ก ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อได้, ในเวลาบ่าย 3 ถึง 5 โมงเย็น ลมปราณจะโคจรไปที่กระเพาะปัสสาวะ กินขมิ้นชันในช่วงเวลานี้ จะช่วยลดอาการตกขาว ทำให้หูรูดแข็งแรงและบำรุงกระเพาะปัสสาวะ

ดังนั้นการปรับใช้ให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน จะช่วยให้เกิดสมดุลในร่างกายอย่างแท้จริง ช่วยให้การดำเนินชีวิตราบรื่นด้วยการมีสุขภาพดี และมีอายุยืนยาวต่อไปได้

Smart Watch ผู้ช่วยตัวจริงของคนรักสุขภาพ

Smart Watch ผู้ช่วยตัวจริงของคนรักสุขภาพ

หนึ่งในอุปกรณ์ดูแลสุขภาพที่ผู้คนนิยมเลือกใช้ประจำตัวจนกลายเป็นเสมือนแฟชั่นยุคใหม่ไปแล้ว ก็คือ “Smart Watch” นาฬิกาสุขภาพ ที่มีให้เลือกหลายสไตล์ หลายระดับราคา และฟังก์ชันการใช้งานที่แตกต่างกัน เลือกได้ทั้งรูปลักษณ์ที่เป็นนาฬิกาและเป็นแบบสายรัดข้อมือ

เปิดฟังก์ชันการดูแลสุขภาพของ Smart Watch

นาฬิกาสุขภาพ หรือ Smart Watch นี้จะมีฟังก์ชันการทำงานหลายอย่างที่ช่วยในการดูแลสุขภาพได้อย่างดี โดยเฉพาะการนับจำนวนก้าวเดินในแต่ละวัน ซึ่งเป็นฟังก์ชันสุดฮิตที่ตอบโจทย์ความต้องการของคนรักสุขภาพที่มักจะพยายามเดินให้ได้ถึง 10,000 ก้าวต่อวัน ตามคำแนะนำทางการแพทย์เพื่อให้มีสุขภาพที่ดี, ฟังก์ชันตรวจวัดปริมาณการเผาผลาญแคลอรี่ , ตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจ, วัดการนอนหลับพักผ่อนในแต่ละวัน และบางรุ่นของ Smart Watch จะมีฟังก์ชันวัดความดันโลหิตให้ด้วย

ข้อมูลสุขภาพของผู้สวมใส่นาฬิกา Smart Watch เหล่านี้จะเชื่อมต่อไปยังแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือด้วยระบบบลูทูธ เพื่อให้สามารถเก็บข้อมูลไว้เป็นสถิติเพื่อแปรผลเป็นข้อมูลพื้นฐานช่วยในการวินิจฉัยเพื่อรักษาโรคประจำตัวได้

เหตุผลที่ผู้คนหันมานิยมใช้ Smart Watch

Smart Watch เป็นหนึ่งสินค้าที่อยู่ในกลุ่ม Wearable Device ที่กำลังมาแรงในยุคดิจิทัล อุปกรณ์ในกลุ่มนี้จะใช้ระบบ “IoT” หรือ Internet of Thing ซึ่งหลายคนเรียกว่าระบบ อินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง เป็นพื้นฐานการทำงานที่สำคัญ ซึ่งช่วยให้การใช้ชีวิตของคนยุคปัจจุบันมีความสะดวกสบายขึ้น และเหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคนสุขภาพมาก ด้วยความที่ Smart Watch เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ง่ายและสามารถใช้แทนนาฬิกาได้ จึงทำให้ผู้คนคุ้นเคยกับอุปกรณ์ Wearable Device ตัวนี้ได้ง่ายกว่า นั่นจึงทำให้ Smart Watch กลายเป็นตัวช่วยหลักของคนรักสุขภาพไปแล้ว ด้วยประโยชน์ที่โดดเด่นของ Smart Watch ต่อไปนี้

เหตุผลที่ผู้คนหันมานิยมใช้ Smart Watch

  • สามารถเก็บข้อมูลการออกกำลังกายไว้เป็นสถิติ ซึ่งจะช่วยเพิ่มแรงกระตุ้นในการออกกำลังกายหรือการดูแลสุขภาพให้ดีขึ้นไปเรื่อย ๆ อาทิ สถิติการวิ่งที่เคยทำไว้ในแต่ละวันหรือแต่ละสัปดาห์ จะเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการขยายเวลาหรือระยะทางให้เพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ เป็นพัฒนาการการออกกำลังกายของตัวเอง จนทำให้มีสุขภาพดี ลดการเจ็บป่วยลงได้ในที่สุด
  • เป็นระบบที่สามารถใช้ จีพีเอส ติดตามได้ โดยเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ ฟังก์ชั่นแบบนี้จะช่วยในการติดตามพิกัดตำแหน่งของผู้สวมใส่นาฬิกาได้ตลอดเวลาจึงนิยมใช้กับเด็กหรือ ผู้สูงวัย ที่มีโอกาสพลัดหลงได้ง่าย
  • การเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือผ่านระบบบลูทูธ ทำให้สามารถตั้งการแจ้งเตือนกรณีมีข้อความ, อีเมล หรือมีโทรศัพท์เข้ามา โดยไม่ต้องหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาดู ฟังก์ชันนี้นอกจากจะเพิ่มความสะดวกแล้ว ยังทำให้คนที่กำลังขับรถปลอดภัยมากขึ้นด้วย

ราคาของนาฬิกา Smart Watch มีตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักหมื่น และกำลังเป็นผู้นำในแฟชั่นนาฬิกายุคปัจจุบัน เพราะ Smart Watch นอกจากเป็นนาฬิกาที่สวยงาม บางยี่ห้อก็สามารถทำให้ปรับรูปโฉมหน้าปัดได้ตามความชอบแล้ว ก็ยังเป็นตัวช่วยหลักในการดูแลสุขภาพให้กับคนยุคใหม่ด้วย

เทคนิคการดูแลสุขภาพในช่วงฤดูหนาว

เทคนิคการดูแลสุขภาพในช่วงฤดูหนาว

ในช่วงปลายปี เกือบทุกภาคของประเทศไทยจะมีสภาพอากาศเย็นกว่าปกติ ประกอบกับมีคนสูงอายุมากขึ้นในสังคมไทย เราจึงต้องช่วยกันศึกษาเทคนิคการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม เพื่อให้ทุกครอบครัวมีสุขภาพดีร่วมกันดังนี้

ดูแลสุขภาพช่วงหน้าหนาวอย่างไร

เลือกเนื้อผ้าที่หนา ในช่วงฤดูหนาวต้องมีการสวมใส่เสื้อผ้าที่แขนยาวและทอด้วยเส้นใหญ่ที่หนาและชิดกว่าปกติ อาจจะต้องใส่ถุงมือและถุงเท้ารวมถึงใช้ผ้าพันคอที่มีเนื้อผ้าอุ่นสบายด้วย จะทำให้รักษาอุณหภูมิร่างกายได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเวลาก่อนนอนควรใส่ถุงเท้านอนด้วยตามหลักแพทย์แผนจีน เพื่อไม่ให้เป็นหวัดและเป็นไข้ตามมาได้ง่าย ๆ

รับประทานอาหารที่เหมาะสม ในช่วงฤดูหนาว เราจะต้องเสริมการรับประทานอาหารที่มีฤทธิ์ร้อน เช่น น้ำขิง น้ำมะตูม บ่อยขึ้น หรือทำเมนูอาหารที่มีน้ำซุปอุ่น ๆ รับประทานคู่กัน เช่น ข้าวมันไก่ แนะนำให้ทำน้ำซุปที่ผสมเครื่องยาแบบจีนรับประทานแบบร้อน ๆ ก็จะช่วยให้ได้รับประโยชน์มากขึ้น ทั้งนี้ต้องไม่ลืมหลักโภชนาการ คือการรับประทานสารอาหารให้ครบ 5 หมู่เป็นประจำ และเสริมวิตามินซีจากผลไม้ เช่น ฝรั่งหรือส้มด้วย ก็จะทำให้ลดโอกาสติดเชื้อโรคได้

หมั่นออกกำลังกายเสมอ การออกกำลังกายในช่วงฤดูหนาวนั้น เป็นเรื่องยากของคนส่วนใหญ่ เพราะอากาศที่เย็นทำให้อยากนอนนานยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ต้องรักษาระเบียบวินัยให้กับตัวเอง โดยการตื่นออกกำลังกายในช่วงเช้าเป็นประจำ จะทำให้ระบบภูมิต้านทานและฮอร์โมนทำงานได้อย่างสมดุล เสริมความแข็งแรง ทำให้สุขภาพดีได้อย่างยั่งยืน

อาบน้ำอุ่นและเปลี่ยนเวลาอาบน้ำ ควรเลือกที่จะอาบในช่วงเวลาสายแทนการอาบตอนค่ำ เพื่อให้ลดความเสี่ยงของการเป็นหวัด นอกจากนี้ควรอาจจะใช้น้ำต้มสุกผสมเพื่อให้มีความร้อนเพิ่มขึ้น หรือปรับอุณหภูมิของเครื่องทำน้ำอุ่นให้ให้สูงขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ต้องระมัดระวังปัญหาผิวแห้งที่จะตามมาด้วย โดยสามารถทาน้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอกที่มีวิตามินอี โลชั่นบำรุงผิว เพื่อช่วยในการบำรุงผิวและลดปัญหาผิวแห้งคันในช่วงฤดูหนาวได้ด้วย

งดการดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์จะมีฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดขยาย แม้จะทำให้รู้สึกอบอุ่นในช่วงแรก แต่หลังจากนั้นจะทำให้ร่างกายขาดน้ำและอุณหภูมิภายในลดต่ำลง สูญเสียความอบอุ่นไป จึงเห็นเป็นข่าวว่ามีหลายรายเสียชีวิตจากอาการช็อกหมดสติ และหากนั่งอยู่ข้างเตาผิงก็อาจจะทำให้ถูกไฟคลอกได้ด้วย ดังนั้นเปลี่ยนจากการดื่มแอลกอฮอล์เป็นหาอะไรทำอยู่ที่บ้านจะดีกว่า เช่น การติดตามสถิติบอลใน ผลบอลสด 888 ผ่านเว็บบอล หรือหาอะไรดูชิลล์ๆที่มีอรรถรสจะช่วยให้ผ่อนคลายจากหน้าหนาวได้มากกว่า

การดูแลสุขภาพในช่วงฤดูหนาวนั้น ต้องใส่ใจทั้งองค์ประกอบภายในและภายนอก เราหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ทุกคนเข้าใจหลักการดูแลสุขภาพของตัวเองและคนรอบข้างในช่วงอากาศเย็นจัดดียิ่งขึ้น

ดูแลสุขภาพช่วงหน้าหนาวอย่างไร

โรคกรดไหลย้อนป้องกันได้ แค่รู้วิธี

โรคกรดไหลย้อนป้องกันได้ แค่รู้วิธี

โรคกรดไหลย้อนเป็นหนึ่งในโรคไม่ติดต่อที่คนไทยเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนใหญ่เกิดเนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ทำให้มีอาการแสบร้อนในช่องอก เรอเหม็นเปรี้ยว แน่นท้อง ฯลฯ ซึ่งทำให้รู้สึกไม่สบายตัวและอาจทำให้อาการลุกลามถึงการเป็นแผลในหลอดอาหารหรือกล่องเสียงได้

วิธีป้องกันตัวเอง ให้ห่างไกลจากโรคกรดไหลย้อน

1. ไม่รับประทานอาหารเผ็ด

อาหารที่มีส่วนผสมจากพริกชนิดต่าง ๆ หรือน้ำส้มปรุงรสในแกงที่เข้มข้น เมื่อรับประทานเข้าไปจะกระตุ้นให้เซลล์ในกระเพาะหลั่งกรดออกมามากขึ้น ทำให้เสี่ยงต่อปัญหากรดไหลผ่านหูรูดเหนือกระเพาะขึ้นไปทำลายหลอดอาหาร ทำให้แสบร้อนในลำคอง่าย ทางที่ดี คือ การงดรับประทานอาการรสเผ็ด เปลี่ยนมาบริโภคอาหารรสกลมกล่อมจะดีต่อสุขภาพมากกว่า

2. รับประทานไม่อิ่มเกินไป

การบริโภคอาหารครั้งละมาก ๆ จะทำให้มีปริมาณโปรตีน เส้นใย ไขมัน แป้ง ฯลฯ อัดแน่นในกระเพาะอาหารมากเกินไปในแต่ละมื้อ จึงเกิดการดันตัวขึ้นไปในหลอดอาหารได้ วิธีการจัดการที่ดี คือ ปรับปริมาณการรับประทานในแต่ละมื้อลง รับประทานเพียงให้รู้สึกพออิ่ม และอาจเพิ่มมื้อย่อยเป็น 4-5 มื้อแทนมื้อใหญ่ 3 ครั้งอย่างที่ผ่านมา อาการโรคกรดไหลย้อนจะไม่ถามหาอีกต่อไป

3. รับประทานแล้วห้ามนอนทันที

การรับประทานแล้วนอนต่อทันที ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดเหนือกระเพาะไม่สามารถปิดกั้นอาหารได้สนิท จึงมีอาการแสบร้อนในลำคอตามมาได้ง่าย ควรปรับเวลาการรับประทานโดยเฉพาะมื้อเย็นให้ห่างจากเวลาเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง และควรนอนหมอนหนุนสูงเป็นประจำด้วย

4. ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วน

ภาวะอ้วนมีความสัมพันธ์กับโรคกรดไหลย้อนอย่างมาก จากการเก็บสถิติขององค์กรด้านสุขภาพ พบว่าคนอ้วนมีอาการไม่สบายตัวจากโรคกรดไหลย้อนบ่อยกว่าคนที่น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ ดังนั้น การควบคุมน้ำหนักตัวด้วยการจำกัดอาหารและออกกำลังกายสม่ำเสมอ จึงจะทำให้คุณสุขภาพดีและห่างไกลโรคกรดไหลย้อนได้

5. ไม่สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์

การสูบบุหรี่จะทำให้ร่างกายผลิตกรดในกระเพาะมากกว่าเดิม ส่วนการดื่มแอลกอฮอล์ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดเหนือกระเพาะอาหารหย่อนตัวลงมากกว่าปกติ ดังนั้น การควบคุมกิจกรรมเข้าสังคมให้น้อยลง เพื่อลดความจำเป็นในการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ จึงจะมีผลดีต่อการทำงานของระบบกระเพาะอาหาร

จากที่กล่าวมา คงเห็นแล้วว่าการดูแลตัวเองเรื่องการบริโภคอาหารอย่างเหมาะสมเกี่ยวข้องโดยตรงกับภาวะโรคกรดไหลย้อน เราหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้ทุกท่านดูแลสุขภาพตัวเองให้ห่างไกลจากโรคนี้ได้ดีขึ้น

โรคกรดไหลย้อนป้องกันได้ แค่รู้วิธี

เรื่องเล่าของกระเทียม มีประโยชน์อย่างไร

เรื่องเล่าของกระเทียม มีประโยชน์อย่างไร

กระเทียม เป็นทั้งสมุนไพรและเครื่องเทศมีสรรพคุณหลากหลายอย่างนำมาปรุงอาหารได้หลายประเภท อาทิเช่น ทำน้ำพริก ,ทำเครื่องแกง , แต่งกลิ่นอาหาร หรือจะเจียวให้สุกกรอบโรยหน้าอาหาร เป็นต้น แต่เจ้ากระเทียมไม่มี มีสรรพคุณแค่นำมาปรุงอาหารได้อย่างเดียวแต่ยังสามารถนำมาเป็นสมุนไพรช่วยบรรเทารักษาโรคได้อีกต่างหากด้วย

บรรเทาโรคด้วยสมุนไพรจากกระเทียม ประโยชน์ของกระเทียมนั้นเยอะมาก เช่น กระเทียมสดสามารถนำมารักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน , โรคกระเพาะ, ขับพยาธิ, โรคหืดหอบ, ลดความดันโลหิตสูง และ ช่วยลดไขมันในเลือด

ทั้งนี้กระเทียมยังสามารถช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคหัวใจได้อีกด้วย ขอยกตัวอย่างเรื่องหนึ่งซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นจริง ที่ไม่ได้แต่งขึ้นแต่ประการใด มีผู้ป่วยรายหนึ่งได้ป่วยเป็นโรคหัวใจเนื่องจากเส้นเลือดหัวใจตีบเลือดไม่สามารถไปเลี้ยงหัวใจได้ อาการเริ่มแรกของผู้ป่วยรายนี้เองแทบไม่มีอาการใดๆบ่งชี้ว่าจะเป็นโรคหัวใจ ก็ยังคงเล่นกีฬาออกกำลังทุกวัน กินอาหารตามปกติที่เคยชินเรียกง่ายๆว่าใช้ชีวิตเหมือนปกติทุกอย่าง จนมีอยู่วันหนึ่งผู้ป่วยรายนี้เริ่มมีอาการเจ็บหน้าอก มือจะจับหน้าอกอยู่ตลอดเวลาเดินตัวงอเจ็บจนต้องร้องบอกว่าเจ็บเหมือนมีอะไรมาทับที่หน้าอก จนอาการเริ่มไม่ค่อยสู้ดีนักสุดท้ายทนไม่ไหวเลยต้องรีบนำตัวพาไปส่งโรงพยาบาล เมื่อไปถึงโรงพยาบาลผู้ป่วยก็ถูกเข็นตัวเข้าห้องฉุกเฉินโดยทันทีเวลาผ่านไปสักพักหนึ่ง หมอเดินออกมาแจ้งกับทางญาติของผู้ป่วยว่าคุณโชคดีมากที่ญาติพาผู้ป่วยมาได้ทันเวลา หากว่ามาช้ากว่านี้อีกเพียง 30 นาทีผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ทันที เพราะอาการของผู้ป่วยตอนนี้คือเส้นเลือดหัวใจทั้ง 3 เส้นตีบหรือตันหมดแล้วเลือดไม่สามารถไหลผ่านเข้าสู่หัวใจได้ โชคดีมากที่ยังเหลืออีกหนึ่งเส้นและต้องทำการผ่าตัดเพื่อทำบอลลูนหัวใจโดยด่วน แต่หมอแจ้งว่าครั้งนี้สามารถทำบอลลูนได้เพียงสองเส้น อีกหนึ่งเส้นต้องกลับมาทำใหม่อีกครั้งในเดือนถัดไป และต้องทานยาโรคหัวใจไปตลอดชีวิต

เมื่อผู้ป่วยได้ออกจากโรงพยาบาลมารักษาตัวที่บ้าน ทางครอบครัวของผู้ป่วยก็หาวิธีที่จะช่วยบรรเทาอาการเพื่ออยากให้ผู้ป่วยดีขึ้น ครอบครัวของผู้ป่วยบังเอิญได้ไปอ่านเจอบทความของสรรพคุณของกระเทียมและพบว่ามันสามารถช่วยบรรเทารักษาโรคหัวใจได้ ก็เลยลองนำกระเทียมสดมาปั่นรวมกับน้ำผักให้ผู้ป่วยดื่ม ให้ดื่มทุกวันเช้าเย็นไปจนถึงเวลาที่ผู้ป่วยใกล้จะไปทำบอลลูนหัวใจรอบสองตามที่หมอนัด เมื่อพบหมอเพื่อทำการตรวจร่างกายก่อนเข้าผ่าตัดผลสรุปคือหมอแจ้งกับผู้ป่วยรายนั้นว่าไม่ต้องทำบอลลูนแล้วเพราะตอนนี้เส้นเลือดขยายเป็นปกติแล้ว นับเป็นเรื่องที่น่ามหัศจรรย์มากสำหรับสรรพคุณของกระเทียม

กระเทียม มีประโยชน์อย่างไร