7 ทักษะสำหรับคอนเทนต์ไรเตอร์มือใหม่

7 ทักษะสำหรับคอนเทนต์ไรเตอร์มือใหม่

ในยุคนี้โลกออนไลน์กลายเป็นสื่อที่ทรงอิทธิพลต่อวิถีชีวิตและเศรษฐกิจของมนุษย์เราไปโดยปริยาย จนหลายคนผันตัวเองมาสู่อาชีพนักเขียนและคอนเทนต์ไรเตอร์มือใหม่ ซึ่งหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้เหล่านักเขียนได้รับมุมมองใหม่ ๆ และสามารถนำไปใช้พัฒนาทักษะการทำงานมี 7 ข้อดังต่อนี้

1.อ่านให้มาก และเข้าใจความแตกต่างระหว่าง Editorial Content และ Marketing Content สำหรับ Editorial Content เป็นการนำเสนอเรื่องราวต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ที่สื่อหรือกองบรรณาธิการ ต้องการเผยแพร่ไปสู่สังคม ส่วน Marketing Content เป็นการนำเสนองานเขียนในเชิงโปรโมทเพื่อการตลาด

2.รักในสิ่งที่ทำและซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ใช้วิจารณญาณกลั่นกรองคอนเทนต์ โดยธรรมชาติของมนุษย์ย่อมต้องการให้ชีวิตดีขึ้น ในแง่มุมไหน อย่างไร เมื่อเราค้นพบคำตอบที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยในการทำชีวิตให้ดีขึ้น ก็จะตอบโจทย์ของเป้าหมายในการสื่อสาร

3.เตรียมข้อมูลให้พร้อม และเปิดรับประสบการณ์งานเขียนในทุก ๆ แนว เพราะประสบการณ์จากการลองทำงานเขียนหลายแบบและสไตล์ จะทำให้คุณได้พัฒนาฝีมือและทักษะในการเขียนให้เก่งขึ้นได้

4.วางโครงเรื่องและกำหนดกลุ่มเป้าหมาย โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนก่อน โดยวิเคราะห์ว่ากลุ่มเป็นหมายเป็นใคร มีอาชีพอะไร ต้องการอะไร แล้วสร้างคอนเทนต์ให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น การสร้างคอนเทนต์เกี่ยวกับที่พักสำหรับคนรักแมว เมื่อกลุ่มคนเลี้ยงแมวได้มาอ่าน ผลลัพธ์ต่าง ๆ ก็จะตามมา

5.เขียนอย่างสม่ำเสมอ เป็นเรื่องที่พูดง่ายแต่ทำได้ยาก ความสม่ำเสมอมีผลต่อการรักษามาตรฐานของผลงาน และสร้างการรับรู้มากขึ้น สำหรับบางคนเมื่อเกิดความชำนาญก็จะสามารถวางโครงสร้างและลงมือทำได้ โดยไม่ต้องรอให้มีอารมณ์เขียนและคัดเลือกผลงานมาทำเป็น Portfolio เก็บไว้เผยแพร่

6.คอนเทนต์ที่นำเสนอต้องเข้าใจง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อกลุ่มเป้าหมาย ไม่ใช้ศัพท์เทคนิคเยอะเกินไป นำเสนอเนื้อหาที่อ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ชอบเสียเวลาในการอ่านและการตีความมากนัก เนื้อหาที่เข้าใจยากจะทำให้ลดความน่าสนใจของเนื้อหาลงไป

7.วางแผนการโพสต์ให้ถูกที่ถูกเวลา เพราะเวลาเป็นสิ่งมีค่า การอ่านก็เช่นกัน นอกจากการกำหนดกลุ่มเป้าหมายแล้ว ยังต้องรู้ถึงพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้คอนเทนต์ได้รับความสนใจและนำไปใช้ได้ เช่น หากกลุ่มเป้าหมายเป็นคนในวัยทำงาน อายุระหว่าง 30-40 ปี คอนเทนต์จึงควรเป็นเรื่องเกี่ยวกับสาระน่ารู้ในชีวิตประจำวัน โพสต์ลงในโซเชียลมีเดีย ช่วงเวลาเดินทางประมาณ 7.00-9.00 น. เพราะส่วนใหญ่กลุ่มคนทำงานนิยมใช้มือถือในระหว่างการเดินทาง

นักเขียนที่ดี มีต้นกำเนิดมาจากนักอ่านที่ดี สั่งสมประสบการณ์และต้นทุนความรู้เพื่อนำมาใช้ในงานเขียนได้อย่างหลากหลาย มีเสน่ห์และมีอัตตลักษณ์เป็นของตนเอง เพียงเท่านี้คุณก็จะเป็นคอนเทนต์ไรเตอร์มือใหม่ที่มีแฟนคลับเฝ้ารอที่จะอ่านอย่างแน่นอน